2. เมื่อ code ภายในเอกสาร HTML ลดลง ทำให้ขนาดไฟล์เล็กลง จึงดาวน์โหลดได้เร็ว
3. สามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลจากคำสั่ง style sheet ชุดเดียวกัน ให้มีผลกับเอกสาร HTML ทั้งหน้า หรือทุกหน้าได้ ทำให้เวลาแก้ไขหรือปรับปรุงทำได้ง่าย ไม่ต้องไล่ตามแก้ที่ HTML tag ต่างๆ ทั่วทั้งเอกสาร
4. สามารถควบคุมการแสดงผลให้เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน ได้ในหลาย Web Browser
5. สามารถกำหนดการแสดงผลในรูปแบบที่เหมาะกับสื่อชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลบนหน้าจอ, บนกระดาษเมื่อสั่งพิมพ์, บนมือถือ หรือบน PDA โดยที่เป็นเนื้อหาเดียวกัน
6. ทำให้เป็นเว็บไซต์ที่มีมาตรฐาน ปัจจุบันการใช้ attribute ของ HTML ตกแต่งเอกสารเว็บเพจ นั้นล้าสมัยแล้ว W3C แนะนำให้เราใช้ CSS แทน ดังนั้นหากเราใช้ CSS กับเอกสาร HTML ของเรา ก็จะทำให้เข้ากับเว็บเบราเซอร์ในอนาคตได้ดี
ตัวอย่างกรณีที่จัดรูปแบบการแสดงผลด้วยภาษา HTML
<html>
<body>
<h1><font color="red" face="Arial">บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย</font></h1>
<p><font color="black" face="Arial"><b>ริชาทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษปีที่ 5 </b></font></p>
<h1><font color="red" face="Arial">การสร้างเวบไซต์</font></h1>
<p><font color="black" face="Arial"><b>ก่อนอื่น เรามาเรียนรู้คำศัพท์ตาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวบไซต์กันก่อน</b></font></p>
</body>
</html>
ตัวอย่างเมื่อเปลี่ยนมาใช้คำสั่ง style sheet จัดรูปแบบการแสดงผลแทนการใช้ code ภาษา HTML ทำให้ code ภายในเอกสารอ่านเข้าใจง่าย และแก้ไขได้ง่ายขึ้น
<html><head><style type="text/css">h1{color:red; font-family:Arial; }p{color:black; font-family:Arial; font-weight:bold }</style></head><body>
<h1>บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย</h1><p>ริชาทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษปีที่ 5 </p>
<h1>การสร้างเวบไซต์</h1><p>ก่อนอื่น เรามาเรียนรู้คำศัพท์ตาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวบไซต์กันก่อน</p>
</body>
</html>